TKP HEADLINE

ขนมเเปรรูปบ้านโนนรัง

 



อาชีพชุมชน

บ้านโนนรัง หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยต่อยอดกิจกรรมของกลุ่มแปรรูปขนมบ้านโนนรัง ผลิตขนมชนิดต่างๆออกจำหน่าย สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพและสมาชิกของกลุ่มฯ อ่านต่อ

เกษตรทฤษฎีใหม่ นายวิสุทธิ์ ศรเสนา

 


แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น : เศรษฐกิจพอเพียง โคก หนองนา โมเดล เกษตรทฤษฎีใหม่ ปราชญ์ชาวบ้าน : นายวิสุทธิ์ ศรเสนา

ข้อมูลพื้นฐานรายบุคคล : นายวิสุทธิ์ ศรเสนา อายุ ๕๔ ปี อยู่บ้านเลขที่ 53 หมู่ 12 บ้านทางพาดปอแดง ตำบลโคกสำราญ อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น ประกอบอาชีพ เกษตรกร

ความเป็นมา : นายวิสุทธิ์ ศรเสนา ประกอบอาชีพ เกษตรกร ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหลากหลายไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรมนำเทคโนโลยีพื้นบ้านมาพัฒนาองค์ความรู้โดยการศึกษาและทดลองแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยตนเองและเครือข่าย นำองค์ความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติจริงและเกิดเป็นรูปธรรมโดยการปฎิบัติงานในส่วนตนเองเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานต่างๆ อ่านต่อ

บุญข้าวสาก ประเพณีสำคัญของชาวไทยภาคอีสาน

 

บุญข้าวสาก ประเพณีสำคัญของชาวไทยภาคอีสาน

ทำความรู้จักประเพณี "บุญข้าวสาก" ที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต โดยจะทำพิธีกรรมกันในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี

เดือนกันยายน นับเป็นเดือนสำคัญสำหรับการไหว้และเคารพบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ส่วนใหญ่เรามักจะคุ้นหูแค่วัน สารทจีน ของชาวไทยเชื้อสายจีนเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันชาวไทยตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศก็มีประเพณี "สารทไทย" เพื่อทำบุญและไหว้บรรพบุรุษไม่ต่างกัน โดยในแต่ละภูมิภาคของไทยก็จะเรียกการทำบุญวันสารทไทยแตกต่างกันไป ได้แก่ บุญข้าวสาก ของชาวภาคอีสาน บุญชิงเปรต ของชาวภาคใต้บุญสลากภัตร ของชาวภาคเหนือ บุญข้าวสารทของชาวภาคกลาง อ่านต่อ


ผ้าไหม นาเชือก

 

ผ้าไหม (Thai silk) เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชาวสยามที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ กว่าจะเป็นผืนผ้าไหมที่สวยงาม ต้องผ่านกระบวนการสั่งสมประสบการณ์อันยาวนานของช่างทอ เริ่มตั้งแต่การปลูกหม่อนการเลี้ยงตัวไหม การสาวไหมเพื่อนำมาทำเป็นเส้นไหม การฟอกไหม การย้อมสี และการทอเป็นผืนผ้า

ตัวไหมที่เลี้ยงกันในประเทศไทยเพื่อนำมาทำเส้นใยเป็นตัวไหมชนิด Bombyx mor จัดเป็นผีเสื้ออยู่ในวงศ์ Bomycideae กินใบหม่อนเป็นอาหาร ลอกคราบ ๔ ครั้งในระยะที่เป็นตัวหนอนดักแด้ ฟักออกเป็นตัวได้ปีละหลายครั้ง รังไหมมีขนาดเล็กแต่จะให้เส้นไหมที่มีความอ่อนนุ่มและเป็นมันงากว่าไหมพันธุ์จีนและพันธุ์ญี่ปุ่น แม้จะไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าบริวณประเทศไทยมีการเลี้ยงไหมและทอผ้าไหมอย่างแพร่หลายมาช้านาน อ่านต่อ

แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น : หมู่บ้านทำมาค้าขายบ้านห้วยทราย

 

แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น : หมู่บ้านทำมาค้าขายบ้านห้วยทราย

ความเป็นมา : นางสาวจันทร์ธิดา กลัมพากร ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาตลาดท้องถิ่น กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า โครงการ “หมู่บ้านทำมาค้าขาย” โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 มีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพให้แก่วิสาหกิจชุมชนในการประกอบธุรกิจในทุกด้านอย่างแท้จริง ทั้งด้านการตลาด การพัฒนาสินค้า การบริหารจัดการ และขยายช่องทางการตลาด จนประสบความสำเร็จในการยกระดับชุมชนสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็งยั่งยืน อ่านต่อ




วัฒนธรรมชุมชน

 


วัฒนธรรมชุมชน

        ตำบลยางสีสุราช อันว่าจาริตะนั้น ฮีตครองโบราณ เป็นประเพณีรรมเนียมสืบมาเดี๋ยวนี้ เป็นแบบแผนไว้ ความดีงามประพฤติชอบ เป็นประเพณีทำบุญ ๑๒ เดือน กล่าวไว้ในคัมภีร์ได้บ่ไข

ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสานบ้านเฮาที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นชาติเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมานาน เป็นเอกลักษณ์ของชาติและท้องถิ่น และมีส่วนช่วยให้ชาติดำรงความเป็นชาติของตนอยู่ตลอดไป

ฮีตสิบสอง

ฮีตสิบสอง หมายถึงประเพณี 12 เดือนที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทางพุทธศาสนา ความเชื่อและการดํารงชีวิตทางเกษตรกรรมซึ่งชาวอีสาน ยึดถือปฏิบัติกัน มาแต่โบราณ มีแนวปฏิบัติแตกต่างกันไปในแต่ละเดือนเพื่อให้เกิดสิริมงคลในการดําเนินชีวิต เรียกอย่างท้องถิ่น ว่างานบุญ ชาวอีสานให้ความสําคัญกับ ประเพณีฮีตสิบสองเป็นอย่างมากและยึดถือปฏิบัติมาอย่างสม่ำเสมอนับเป็นเอกลักษณ์ของ ชาวอีสาน อย่างแท้จริง คําว่า “ฮีตสิบสอง”มาจากคําว่า “ฮีต” อันหมายถึงจารีต การปฏิบัติที่สืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี “สิบสอง” คือประเพณีที่ปฏิบัติตามเดือนทางจันทรคติทั้งสิบสองเดือน อ่านต่อ

หลวงพ่อพระโตโคตะมะ

 

หลวงพ่อพระโตโคตะมะ

วัดยางสีสุราช เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่ ตำบลยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม หลวงพ่อพระโตโคตะมะ ความเป็นมาของหลวงพ่อพระโตโคตะมะ ซึ่งมีประวัติมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล และด้วยเหตุใดจึงมาอุบัติเกิดขึ้นที่ตรงนี้ หลวงพ่อเล่าย้อนไปในอดีต ขณะที่พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๕๗ พรรษา พระองค์ได้เสด็จมาที่สุวรรณภูมิ มาโปรดพระเทวจักร กิตฺติโก ประธานสงฆ์ซึ่งเป็นชาวมอญอยู่ที่เมืองโคตรภู เมืองโคตรภูเป็นเมืองเล็ก ๆ อยู่ใกล้ภูเขา ภูเขาลูกนี้มีภูกินหมากเป็นเถาวัลย์ที่รัดกันขึ้นไปใหญ่มาก รวมเรียกว่า”ภูกินหมาก” ปัจจุบันก็ยังมีอยู่บนภูเขา มีต้นนางพญางิ้วดำต้นใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น ปัจจุบันต้นนางพญางิ้วต้นใหญ่ตายแล้วแต่ยังมีต้นลูกหลานหลงเหลืออยู่บ้างทางขึ้นไปลำบากสถานที่ตรงนั้นเป็นเขตอันตรายมีอาวุธสงครามมากมาย มีกระสุนปืนและระเบมากมาย ในสมัยที่ประเทศเขมรแตกชาวเขมรอพยพเข้ามาฝั่งไทยและฝังระเบิดไว้ตามแนวชายแดนมากมาย อ่านต่อ


พระสีสุราช

 

พระสีสุราช

จากตํานานเล่าขานและประวัติศาสตร์บางตอน ที่มีผู้รู้และผู้เฒ่าผู้แก่ประจําผู้บ้าน จดบันทึกและเล่าสืบต่อกันมาชั่วลูกชั่วหลานนั้น

⇒ ปี พ.ศ. 2202 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช ได้มีราษฎรอ้ายลาว (พิลาว - น้องลาว) อพยพมาจากเมืองจําปาสัก ซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของอาณาจักรลานช้าง นําโดยพระสีสุราชหรือท้าวสีสุราชเป็นหัวหน้า พระสีสุราชเป็น ราชบุตรของเจ้าเมืองจําปาสัก อพยพเข้ามาทางดอนมดแดง (อุบลราชธานี) ผ่านเมือง สุวรรณภูมิมาตั้งถิ่นฐานที่โคกหนองดุม ซึ่งมีชัยภูมิที่อุดมสมบูรณ์

⇒ ปี พ.ศ. 2212 พระสีสุราชได้ย้ายจากโคกหนองดุม ไปตั้งบ้านที่ดงตะกวดโนนสูง ความ ตอนนี้เล่าว่าพระสีสุราช ชาวบ้านเรียกกันว่า ท้าวสีสุราชหรือเฒ่าไก่สามเก้า เหตุเพราะท่าน ไก่ไว้กินไข่กินเนื้อ เวลาที่จะออกไปทําศึกหรือเดินทางไปไหนมาไหน ท่านชอบให้บริวารใช้หอก อ่านต่อ


กลุ่มทอผ้าไหมผ้าฝ้ายบ้านยาง

 


อาชีพชุมชน

จากมรดกภูมิปัญญา สู่คุณค่าแห่งความงาม


จากมรดกภูมิปัญญา สู่คุณค่าแห่งความงาม อำเภอยางสีสุราช ดินแดนแห่งพุทธธรรม ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่นอันเป็นเอกลัก ละบือไกลด้วยผ้าไหมหลากสไตล กลุ่มทอผ้าไหมผ้าฝ้ายบ้านยางตลาด

จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ที่นี่ขึ้นชื่อว่ามีฝีมือเป็นเลิศด้านการทอผ้าไหมมัดหมี่ โดยเฉพราะอย่างยิ่งลายสร้อยดอกหมาก ด้วยการสืบสานมรดกทางภูมิปัญญาด้านผ้าไหม การเลี้ยงหมอน ที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นงานศิลปะที่มีอยู่เพียงชิ้นเดียวในโลก เพราะแต่ละคนที่ทำแต่ละขั้นตอน จะมีควาแตกต่างกัน เส้นไหมที่สาวได้แต่ละช่วงเวลาหรือแต่ละระยะของฝักไหม นอกจากนั้นแล้วความสามารถในการทอ การสอดกระสวย ความแรงในการตีกระทบหรือการฟัดทำให้ได้สีเข้มอ่อน อ่านต่อ

กลุ่มทอผ้าไหมบ้านกุดรัง

 

ประวัติการก่อตั้งกลุ่มทอผ้าไหมบ้านกุดรัง

การก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านกุดรังได้เริ่มขึ้นเมื่อ นางสมจิตร บุรีนอก ได้เข้ารับการอบรมการทอผ้าไหมมัดหมี่ที่อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ซึ่งหลังจากเข้ารับการอบรมแล้วได้นำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้เพื่อนบ้านใกล้เคียง ซึ่งเดิมทำการทอผ้าไว้สำหรับใช้งานในบ้านอยู่แล้ว เมื่อมีการทอผ้าได้มากขึ้นจึงมีการนำผ้าทอได้ไปจำหน่าย ซึ่งการจำหน่ายในช่วงแรกจะขายให้แก่บุคคลใกล้ชิด หรือญาติพี่น้องที่รู้จัก และขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ไม่สามารถทอผ้าได้ทันต่อความต้องการของลูกค้า จึงเกิดแนวคิดที่จะรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตและหาตลาดจัดจำหน่าย เพื่อสร้างรายได้ สร้างอาชีพแก่กลุ่มแม่บ้าน จึงได้ชักชวนแม่บ้านภายในหมู่บ้านบ้านกุดรังที่ว่างเว้นจากการทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนในหมู่บ้าน จึงเกิดการรวมตัวกันของกลุ่มแม่บ้านในเบื้องต้น จำนวน 15 คน เพื่อจัดตั้งกลุ่มเมื่อปี พ.ศ.2540 เพื่อทำการทอผ้าไหมจำหน่าย การดำเนินงานของกลุ่มเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 กลุ่มได้รับการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน โดยมีสมาชิกเริ่มแรก 15 คน อ่านต่อ

ปราชญ์ชาวบ้าน : นายทนุวง ไชยะดา

 


แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น : เศรษฐกิจพอเพียง โคก หนองนา โมเดล

ชื่อภูมิปัญญา/ปราชญ์ชาวบ้าน : นายทนุวง ไชยะดา

ข้อมูลพื้นฐานรายบุคคล : นายทนุวง ไชยะดา อายุ 65 ปี หมู่ 7 บ้านบ้านดอนโมง
ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ประกอบอาชีพ เกษตรกร

ความเป็นมา : นายทนุวง ไชยะดา อาชีพข้าราชการบำนาญ ผันตัวทำเกษตรแบบง่ายๆ ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหลากหลายไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรมนำเทคโนโลยีพื้นบ้านมาพัฒนาองค์ความรู้โดยการศึกษาและทดลองแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยตนเองและเครือข่าย นำองค์ความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติจริงและเกิดเป็นรูปธรรมโดยการปฎิบัติงานในส่วนตนเองเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานต่างๆอ่านต่อ




การทำข้าวฮาง

 


            กลุ่มช้าวฮางกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ผลิตและจำหน่ายข้าวฮาง ข้าวกล้อง เมล็ดพันธุ์ข้าวเหนีนวดำพันธุ์ลืมผัว และพันธุ์ข้าวเจ้ามะลิดำ วิสาหกิจชุมชน
กลุ่มข้าวฮางกุดรัง รหัสทะเบียน 4-44-12-01/1-0022 ที่อยู่ 141 หมู่ที่ 1 ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม 44130 นอกจากกลุ่มได้นำผลผลิตข้าวเปลือกจากชุมชนไปแปรรูปเป็นข้าวฮาง ตามแบบฉบับดั้งเดิมที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่รู้จักกันในชื่อข้าวฮางกุดรัง ข้าวเพื่อสุขภาพ ได้รับการคัดสรรเป็นโอท็อป 5 ดาว ซึ่งมีทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่ ข้าวหอมนิล ข้าวเจ้ามะลิแดง ข้าวเจ้ามะลิดำ และข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว ซึ่งมีการบรรจุภัณฑ์ด้วยระบบสูญญากาศตามขั้นตอน ก่อนส่งขายตามวิถีตลาดแล้ว กลุ่มยังได้รวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัวที่ผ่านตามกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้จำหน่าย กว่า ๕๐ ตัน และพันธุ์ข้าวเจ้ามะลิดำในราคาต้นทุนเพื่อให้สมาชิกและผู้สนใจนำไปปลูกข้าวกลุ่มข้าวสีม่วงดำ โดยใช้การตลาดนำการผลิตซึ่งข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัวเป็นหนึ่งในกลุ่มข้าวสีม่วงดำที่จะส่งเสริม ตามข้อมูลสำนักวิจัยและพัฒนาข้าวระบุว่าข้าวพันธุ์นี้ เป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงดำ หรือที่เรียกกันว่า “ข้าวเหนียวดำ” เป็นข้าวเหนียวที่มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย เมื่อเคี้ยวจะรู้สึกมันและนุ่มแบบหนุบๆ เนื่องจากเป็นข้าวกล้องที่ยังไม่ได้ผ่านการขัดสี ด้วยรสชาติที่อร่อย ผลผลิตสูงสุดเมื่อปลูกในสภาพไร่และฟ้าอากาศ ที่เหมาะสม ได้ 490 กก./ไร่ เมื่อนำมาปลูกในพื้นราบ ผลผลิตที่ได้อยู่ระหว่าง 200-350 กก./ไร่ อ่านต่อ

ดอนปู่ตา

  


ดอนปู่ตา

ตำนานและที่มาของดอนปู่ตา

การตั้งชื่อบ้านหรือนามบ้านในชุมชนอีสานจะยึดธรรมชาติเป็นสำคัญ เช่น โพน โนน หนอง เลิง ห้วย และกุด เป็นต้นคำว่า “กุด” หมายถึง สายน้ำที่เปลี่ยนทิศทางเดินจนเกิดเป็นแอ่งหรือหนองคำว่า “รัง” หมายถึง “ฮัง” ในภาษาอีสาน หมายถึง ที่อยู่ที่อาศัยซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับสัตว์ถ้าเป็น “กุดรัง” หนองน้ำที่มีรังอยู่

ตำนานเล่าว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เจ้าเมืองท่า (ท่าขอนยาง) มีธิดาสาวที่มีโฉมงดงามพระองค์หนึ่ง เป็นที่รักและโปรดปรานของเจ้าเมืองมาก และธิดาองค์นี้ทรงโปรดปรานจระเข้เป็นพิเศษจนกระทั้งเจ้าเมืองได้แสวงหาจระเข้มาเลี้ยงไว้ในสระหลวง เพื่อให้ธิดาหยอกล้อและเล่นน้ำเป็นเพื่อนโดยการขี่หลังตระเวนไปตามสระรอบๆเมืองอยู่เสมอๆ อ่านต่อ

วนอุทยานโกสัมพี

 


วนอุทยานโกสัมพี ป่าหนองบุ้งเป็นป่าดงดิบมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบอยู่ริมแม่น้ำชี ในเขตสุขาภิบาล- อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ภายในบริเวณป่าหนองบุ้ง ซึ่งเป็นหนองน้ำธรรมชาติ ขนาดเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ มีน้ำตลอดอีกประมาณ 1- 1.50 เมตร บริเวณป่าหนองบุ้งด้านทิศใต้มีอาณาเขตติดต่อกับถนนข้างมณฑปหลวงพ่อมิ่งเมือง และวัดกลางโกสุมพิสัย จะมีลักษณะเป็นป่าดงดิบตามธรรมชาติมาตั้งแต่เดิม เนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ และบริเวณที่อยู่ถัดลงไปทางด้านทิศตะวันตกจนจดลำชีหลง เนื้อที่ประมาณ 45 ไร่ส่วนที่ดินที่เหลืออีกประมาณ 20 ไร่ นั้นเป็นที่เคยถูกบุกรุกแผ้วถางป่ามาแล้วเป็นหย่อม ๆ และปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าโดยไม่มีผู้ใดเข้ายึดครองกรรมสิทธิ์ สำหรับที่ดินบริเวณที่ไม่ได้บุกรุกแผ้วถางทำลายป่าจะมีไม้ยางขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 50 - 70 ต้น ซึ่งเป็นยางนา อ่านต่อ

อนุสรณ์สถาน สะดืออีสาน

 



                สืบเนื่องจากผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม เชื่อว่าจุดศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่จังหวัดมหาสารคาม จึงขอความร่วมมือจากกรมแผนที่ทหาร(กองบัญชาการทหารสูงสุด)ดำเนินการตรวจสอบตามหลักวิชาการ ทำให้ทราบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสานมีศูนย์กลางอยู่ที่พิกัด เส้นรุ้ง 16 11 54.3209N หรือ เส้นแวง 103 04 24.9818E ซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินเอกชนบริเวณบ้านเขวา ตำบลเหล่า ทางทิศใต้ของอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ทางจังหวัดจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาจังหวัดมหาสารคามให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และศูนย์กลางวัฒนธรรมทั้ง 20 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือภายใต้ชื่อ“อนุสรณ์สถานสะดืออีสาน”คำว่า“สะดือ”ในภาษาอีสานเรียกว่า“บือ”ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของร่างกายและสิ่งต่างๆ จึงมีแนวคิดเรื่องกึ่งกลางของพื้นที่เพื่อสร้างความสำคัญของจุดพิกัดดังกล่าว การออกแบบสัญลักษณ์สะดืออีสานยังสะท้อนถึงความสำคัญเกี่ยวกับภูมิปัญญาบรรพบุรุษและเป็นศูนย์รวมแห่งใหม่ของชาวอีสานด้วย จึงได้กำหนดพื้นที่ตั้งโครงการไว้ที่โรงเรียนบ้านเขวา ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งและห่างจากจุดพิกัดสะดืออีสานไปประมาณ 400 เมตร อ่านต่อ

โบราณสถานดอนกู่โนนพระ

 

                                                                                    


โบราณสถานดอนกู่โนนพระ

ประวัติ

โบราณสถานดอนกู่โนนพระ เป็นศาสนสถานแบบขอม ลักษณะเป็นกลุ่มของอาคาร จำนวน 3 หลัง ตั้งเรียงตามแนวทิศเหนือ-ใต้ โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก อาคารหลังกลางมีขนาดใหญ่กว่าอาคาร 2 หลัง สภาพปัจจุบัน(หลังการขุดแต่ง) พบแต่เพียงส่วนฐานของอาคาร จากรูปแบบของตัวโบราณสถานสันนิษฐานว่า คงจะเป็นโบราณสถานประเภทที่เรียกกันว่าปราสาทสรุก(ปราสาทชุมชน) หรือ ศาลเทพเจ้า ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนา(ส่วนใหญ่คือ ศาสนาพราหมณ์) เพื่อใช้เป็นที่เคารพบูชาของคนในชุมชน จะมีขนาดค่อนข้างเล็กและมีรูปแบบไม่ตายตัวแน่นอน กล่าวคือ มีทั้งที่เป็นกลุ่มอาคาร หรือเป็นอาคารเดี่ยวๆ ล้อมรอบด้วยกำแพงหรือคูน้ำ และอาจจะมีสระนี้อยู่ใกล้ๆ อ่านต่อ

โคกหนองนา นางประกาย ประสมสี

                                      

นางประกาย ประสมสี

แหล่งเรียนรู้ โคกหนองนา เกษตรทฤษำีใหม่ บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่15 ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม ให้ความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยได้เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับด้านการเลี้ยงกบ การปลูกข้าว ปลูกผักเลี้ยงเเพะ

ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักทฤษฎีใหม่มาปรับใช้ ด้วยความเชื่อมั่นในแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานไว้ว่าสองสิ่งนี้จะนำพาประเทศให้อยู่รอด และมุ่งหวังที่จะให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เกิดการเรียนรู้ สามารถน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ไปปรับใช้เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” พัฒนาหมู่บ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบร่วมกันของชุมชน โดยให้ครัวเรือนต้นแบบเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้คนอื่นต่อไป

สะพานไม้แกดำ

 


   ปัจจุบันจังหวัดมหาสารคาม มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง ที่สามารถเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และสามารถเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแบ่งตามความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยว และสภาพแวดล้อม ได้ 12 ประเภท ดังนี้แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ แหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะวิทยาการฯเช่นเดียวกับสะพานไม้เก่าแก่ ในบรรยากาศแบบท้องทุ่ง อ่านต่อ

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดมหาสารคาม. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand