TKP HEADLINE

ขนมเเปรรูปบ้านโนนรัง

 



อาชีพชุมชน

บ้านโนนรัง หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยต่อยอดกิจกรรมของกลุ่มแปรรูปขนมบ้านโนนรัง ผลิตขนมชนิดต่างๆออกจำหน่าย สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพและสมาชิกของกลุ่มฯ อ่านต่อ

เกษตรทฤษฎีใหม่ นายวิสุทธิ์ ศรเสนา

 


แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น : เศรษฐกิจพอเพียง โคก หนองนา โมเดล เกษตรทฤษฎีใหม่ ปราชญ์ชาวบ้าน : นายวิสุทธิ์ ศรเสนา

ข้อมูลพื้นฐานรายบุคคล : นายวิสุทธิ์ ศรเสนา อายุ ๕๔ ปี อยู่บ้านเลขที่ 53 หมู่ 12 บ้านทางพาดปอแดง ตำบลโคกสำราญ อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น ประกอบอาชีพ เกษตรกร

ความเป็นมา : นายวิสุทธิ์ ศรเสนา ประกอบอาชีพ เกษตรกร ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหลากหลายไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรมนำเทคโนโลยีพื้นบ้านมาพัฒนาองค์ความรู้โดยการศึกษาและทดลองแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยตนเองและเครือข่าย นำองค์ความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติจริงและเกิดเป็นรูปธรรมโดยการปฎิบัติงานในส่วนตนเองเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานต่างๆ อ่านต่อ

บุญข้าวสาก ประเพณีสำคัญของชาวไทยภาคอีสาน

 

บุญข้าวสาก ประเพณีสำคัญของชาวไทยภาคอีสาน

ทำความรู้จักประเพณี "บุญข้าวสาก" ที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต โดยจะทำพิธีกรรมกันในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี

เดือนกันยายน นับเป็นเดือนสำคัญสำหรับการไหว้และเคารพบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ส่วนใหญ่เรามักจะคุ้นหูแค่วัน สารทจีน ของชาวไทยเชื้อสายจีนเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันชาวไทยตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศก็มีประเพณี "สารทไทย" เพื่อทำบุญและไหว้บรรพบุรุษไม่ต่างกัน โดยในแต่ละภูมิภาคของไทยก็จะเรียกการทำบุญวันสารทไทยแตกต่างกันไป ได้แก่ บุญข้าวสาก ของชาวภาคอีสาน บุญชิงเปรต ของชาวภาคใต้บุญสลากภัตร ของชาวภาคเหนือ บุญข้าวสารทของชาวภาคกลาง อ่านต่อ


ผ้าไหม นาเชือก

 

ผ้าไหม (Thai silk) เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชาวสยามที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ กว่าจะเป็นผืนผ้าไหมที่สวยงาม ต้องผ่านกระบวนการสั่งสมประสบการณ์อันยาวนานของช่างทอ เริ่มตั้งแต่การปลูกหม่อนการเลี้ยงตัวไหม การสาวไหมเพื่อนำมาทำเป็นเส้นไหม การฟอกไหม การย้อมสี และการทอเป็นผืนผ้า

ตัวไหมที่เลี้ยงกันในประเทศไทยเพื่อนำมาทำเส้นใยเป็นตัวไหมชนิด Bombyx mor จัดเป็นผีเสื้ออยู่ในวงศ์ Bomycideae กินใบหม่อนเป็นอาหาร ลอกคราบ ๔ ครั้งในระยะที่เป็นตัวหนอนดักแด้ ฟักออกเป็นตัวได้ปีละหลายครั้ง รังไหมมีขนาดเล็กแต่จะให้เส้นไหมที่มีความอ่อนนุ่มและเป็นมันงากว่าไหมพันธุ์จีนและพันธุ์ญี่ปุ่น แม้จะไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าบริวณประเทศไทยมีการเลี้ยงไหมและทอผ้าไหมอย่างแพร่หลายมาช้านาน อ่านต่อ

แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น : หมู่บ้านทำมาค้าขายบ้านห้วยทราย

 

แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น : หมู่บ้านทำมาค้าขายบ้านห้วยทราย

ความเป็นมา : นางสาวจันทร์ธิดา กลัมพากร ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาตลาดท้องถิ่น กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า โครงการ “หมู่บ้านทำมาค้าขาย” โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 มีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพให้แก่วิสาหกิจชุมชนในการประกอบธุรกิจในทุกด้านอย่างแท้จริง ทั้งด้านการตลาด การพัฒนาสินค้า การบริหารจัดการ และขยายช่องทางการตลาด จนประสบความสำเร็จในการยกระดับชุมชนสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็งยั่งยืน อ่านต่อ




วัฒนธรรมชุมชน

 


วัฒนธรรมชุมชน

        ตำบลยางสีสุราช อันว่าจาริตะนั้น ฮีตครองโบราณ เป็นประเพณีรรมเนียมสืบมาเดี๋ยวนี้ เป็นแบบแผนไว้ ความดีงามประพฤติชอบ เป็นประเพณีทำบุญ ๑๒ เดือน กล่าวไว้ในคัมภีร์ได้บ่ไข

ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสานบ้านเฮาที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นชาติเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมานาน เป็นเอกลักษณ์ของชาติและท้องถิ่น และมีส่วนช่วยให้ชาติดำรงความเป็นชาติของตนอยู่ตลอดไป

ฮีตสิบสอง

ฮีตสิบสอง หมายถึงประเพณี 12 เดือนที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทางพุทธศาสนา ความเชื่อและการดํารงชีวิตทางเกษตรกรรมซึ่งชาวอีสาน ยึดถือปฏิบัติกัน มาแต่โบราณ มีแนวปฏิบัติแตกต่างกันไปในแต่ละเดือนเพื่อให้เกิดสิริมงคลในการดําเนินชีวิต เรียกอย่างท้องถิ่น ว่างานบุญ ชาวอีสานให้ความสําคัญกับ ประเพณีฮีตสิบสองเป็นอย่างมากและยึดถือปฏิบัติมาอย่างสม่ำเสมอนับเป็นเอกลักษณ์ของ ชาวอีสาน อย่างแท้จริง คําว่า “ฮีตสิบสอง”มาจากคําว่า “ฮีต” อันหมายถึงจารีต การปฏิบัติที่สืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี “สิบสอง” คือประเพณีที่ปฏิบัติตามเดือนทางจันทรคติทั้งสิบสองเดือน อ่านต่อ

หลวงพ่อพระโตโคตะมะ

 

หลวงพ่อพระโตโคตะมะ

วัดยางสีสุราช เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่ ตำบลยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม หลวงพ่อพระโตโคตะมะ ความเป็นมาของหลวงพ่อพระโตโคตะมะ ซึ่งมีประวัติมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล และด้วยเหตุใดจึงมาอุบัติเกิดขึ้นที่ตรงนี้ หลวงพ่อเล่าย้อนไปในอดีต ขณะที่พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๕๗ พรรษา พระองค์ได้เสด็จมาที่สุวรรณภูมิ มาโปรดพระเทวจักร กิตฺติโก ประธานสงฆ์ซึ่งเป็นชาวมอญอยู่ที่เมืองโคตรภู เมืองโคตรภูเป็นเมืองเล็ก ๆ อยู่ใกล้ภูเขา ภูเขาลูกนี้มีภูกินหมากเป็นเถาวัลย์ที่รัดกันขึ้นไปใหญ่มาก รวมเรียกว่า”ภูกินหมาก” ปัจจุบันก็ยังมีอยู่บนภูเขา มีต้นนางพญางิ้วดำต้นใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น ปัจจุบันต้นนางพญางิ้วต้นใหญ่ตายแล้วแต่ยังมีต้นลูกหลานหลงเหลืออยู่บ้างทางขึ้นไปลำบากสถานที่ตรงนั้นเป็นเขตอันตรายมีอาวุธสงครามมากมาย มีกระสุนปืนและระเบมากมาย ในสมัยที่ประเทศเขมรแตกชาวเขมรอพยพเข้ามาฝั่งไทยและฝังระเบิดไว้ตามแนวชายแดนมากมาย อ่านต่อ


ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดมหาสารคาม. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand